วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประวัติสมัยอยุธยา ^0^


1. การเกษตร การเกษตรเป็นเศรษฐกิจหลักของอยุธยา อยุธยามีทำเลที่ตั้งบนที่ราบอันมีดินที่อุดมสมบูรณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เพราะตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีน้ำตลอดปี แม้แต่หน้าแล้งก็ไม่ขาดน้ำ ในฤดูฝนมีน้ำมากจนท่วมพื้นที่สองฝั่งน้ำทั่วไป การทับถมของโคลนตมทำให้มีปุ๋ยในชั้นหน้าดิน แม้ว่าพื้นดินจะมีทรายปนอยู่บ้างก็เพียงเล็กน้อย ดินจึงเก็บกักน้ำได้ดี เมืองมีดินและน้ำอุดมสมบูรณ์ จึงเหมาะแก่การเพาะปลูก โดยเฉพาะข้าว ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย จึงมีการปลูกข้าวกันทั่วไป รองลงมามีไม้ยืนต้น ได้แก่มะม่วง มะพร้าว หมาก และพืชผักผลไม้อื่น ๆ ที่มีความสำคัญ ได้แก่ ฝ้าย พริกไทย พริก หอม กระเทียม เป็นต้น แต่ชาวอยุธยาก็มีการใช้เทคนิคแบบดั้งเดิม พึ่งพาธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ เช่นอาศัยน้ำฝนเป็นปัจจัยในการผลิต แรงงานที่ใช้ทั่วไป คือ โค และกระบือ คันไถทำด้วยไม้ นอกจากนั้น การเกษตรสมัยอยุธยามีจุดประสงค์เพื่อการบริโภคภายในอาณาจักรตามลักษณะแบบยังชีพ มิได้เพื่อค้าขายสินค้าทางการเกษตรที่อยุธยาส่งไปขายยังต่างประเทศ ล้วนแต่เป็นผลผลิตที่เหลือจากการบริโภคในราชอาณาจักรแล้ว แม้ว่ารัฐบาลสมัยอยุธยาจะไม่มีการส่งเสริมทางการเกษตรมากมัก และวิธีการปลูกพืชดั้งเดิมที่ต้องพึ่งพาธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่นั้น สภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมและสมบูรณ์ในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ทำให้อาณาจักรอยุธยาเลี้ยงดูผู้คนในอาณาจักรได้ และมีการส่งไปขายยังต่างประเทศด้วย พระมหากษัตริย์ทรงเอาพระทัยใส่ดูแลการเพาะปลูกของประชาชน มีการรับรองป้องกันมิให้เกิดการละเมิดสิทธิ หรือก่อให้เกิดอันตรายต่อการทำเกษตร ด้วยการออกกฎหมายคุ้มครอง ป้องกัน จัดระเบียบให้ถือปฏิบัติ เช่น
1.1 การคุ้มครองป้องกันการเพาะปลูก กำหนดให้ราษฎรเจ้าของ ช้าง ม้า โค กระบือ ระวังสัตว์เลี้ยงของตน มิให้ทำอันตรายหรือเข้าไปกินข้าวในนา หรือพืชพรรณของผู้อื่น ห้ามมิให้ขโมยแอก ไถ คราด หรือเครื่องมือการทำนาของราษฎรด้วยกัน ผู้ฝ่าฝืนจะได้รับโทษ
1.2 การยอมรับกรรมสิทธิ์ ราษฎรที่จับจอง บุกเบิกที่ดินแหล่งใหม่เพื่อใช้ในการเกษตรตามระเบียบทางราชการจะตีตราสารรับรองกรรสิทธิ์เหนือพื้นดินให้
1.3 การลดอากร ผู้ที่ทำการเพาะปลูกนอกเมือง หรือในที่ซึ่งเคยทิ้งร้างไว้ เมื่อมีการเพาะปลูกใหม่ในระยะเริ่มต้น ระยะเวลาปีหนึ่งจะไม่เก็บค่าอากร เมื่อพ้นจากนั้นจึงจะเก็บอากรเข้าหลวง เป็นนโยบายการส่งเสริมขยายที่เพาะปลูก และไม่ให้ที่เพาะปลูกทิ้งร้างไร้ประโยชน์ ภายหลังมีการเก็บภาษีที่ดินที่ไม่ทำประโยชน์ด้วย
1.4 การอำนวยประโยชน์ทางอ้อม แม้ว่าอยุธยาจะมิได้จัดระบบชลประทาน เพื่อส่งเสริมการเกษตรโดยตรง แต่มีการขุดคลองเพื่อการยุทธศาสตร์ การคมนาคม และการระบายน้ำ เพื่อป้องกันน้ำท่วม คูคลองเหล่านี้ก็อำนวยความสะดวกและประโยชน์ทางการด้านการเพาะปลูกกับราษฎรในทางอ้อม ส่วนราษฎรเองก็หาทางช่วยตัวเอง โดยใช้ระบบชลประทานอีกทางหนึ่งด้วย
2. อุตสาหกรรม สมัยอยุธยาอุตสาหกรรม มีการผลิตที่ไม่ต่างจากสุโขทัยมากนัก ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน หรือขนาดเล็กที่ผลิตเพื่อใช้ในครัวเรือน ใช้ในราชการ หมู่ชนชั้นสูง และการพระศาสนา กำลังการผลิตจะได้จากแรงงานเด็กหญิงหรือผู้พ้นเกณฑ์แรงงาน และทหาร เมื่อมีเวลาว่างจากการประกอบอาชีพปกติ ส่วนกำลังการผลิตของรัฐบาลจะได้จากแรงงานไพร่และทาสเป็นอุตสาหกรรมประเภทฝีมือ ได้แก่ การผลิตเครื่องทองรูปพรรณ เครื่องแกะสลัก เครื่องประดับมุก เป็นต้น อุตสาหกรรมส่วนใหญ่มุ่งเพื่อการบริโภคในประเทศ ได้แก่ เครื่องใช้ในครัวเรือน มีเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องจักสาน เครื่องเหล็ก เพื่อการเกษตรมี ผาล ( เหล็กแหลมที่ต่อจากคันไถสำหรับไถนา ) จอบ เสียม มี ฯลฯ ทั้งที่ใช้เป็นอุปกรณ์การงานและอาวุธ (หมู่บ้านอรัญญิกมีชื่อเสียง มีฝีมือตีมีดที่มีคุณภาพ ) เครื่องปั้นดินเผา เครื่องเคลือบดินเผา การต่อเรือเพื่อการคมนาคม การประมง และการบรรทุกสินค้า อุตสาหกรรมมีจำนวนน้อย ที่พบ คือ น้ำตาล
3. การค้า เนื่องจากทำเลที่ตั้งของอยุธยาสะดวกแก่การคมนาคมทางน้ำ เพราะมีแม่น้ำหลายสาย และไม่ห่างจากปากแม่น้ำเกินไป การนำสินค้าเข้าและออกทางทะเลทำได้สะดวก อาณาจักรที่อยู่เหนือขึ้นไป คือ สุโขทัย และล้านนา ก็จำเป็นต้องใช้อยุธยาเป็นทางผ่านสู่ทะเล ทำให้อยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้าอยุธยาจึงมีการค้าขายเป็นอาชีหลักอีกอย่างหนึ่งนอกเหนือจากการเกษตร การค้าสมัยอยุธยามี 2 ประเภท ดังนี้คือ
3.1 การค้าขายภายในประเทศ แม้ว่าอยุธยาจะมีระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพ ชุมชนหมู่บ้านผลิตทุกสิ่งเพื่อการดำรงชีพตามความต้องการของตนเอง แต่การค้าขายก็ยังมีความจำเป็นอยู่ คือซื้อส่วนที่ยังต้องการ และขายส่วนที่เกินความต้องการ ก่อให้เกิดระบบการแลกเปลี่ยนขึ้น 2 ระบบ คือ 1. ระบบแลกเปลี่ยนโดยตรง ได้แก่ การนำสินค้าไปแลกเปลี่ยน เช่น น้ำ ข้าวเปลือก ไปแลกน้ำปลา กะปิ หรือนำหม้อไห ถ้วยชามไปแลกข้าวสาร หรือผลไม้เป็นต้น
2. ระบบแลกเปลี่ยนด้วยเงินตรา ได้แก่ การซื้อขายอย่างทุกวันนี้ คือ นำสินค้าไปแลกเป็นเงินตราก่อน และเมื่อต้องการสิ่งใดก็นำเงินตรานั้นแลกมาการค้าขายภายในสมัยอยุธยาคงใช้ระบบแลกเปลี่ยนทั้งสองมาตลอด ต่างกันเพียงแต่จะใช้ระบบใดมากกว่ากัน การค้าขายภายในสมัยอยุธยาตอนต้นได้ขยายตัวขึ้นตามสภาพสังคม ในรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้มีการเก็บอากรตลาดเป็นครั้งแรก โดยจัดเก็บจากผู้นำสินค้ามาขายตามตลาดหรือย่านชุมชน แสดงให้เห็นว่าการประกอบการค้ามีรายได้ดี อากรตลาดนี้ภายหลังได้เก็บกว้างขึ้น มีภาษีโรงเรือน และต่อมามีการเรียกเก็บอากรขนอน จากการนำสินค้าผ่านด่านทางบกและทางน้ำ โดยเริ่มที่ราชธานีก่อนแล้วขยายไปยังหัวเมือง
3.2 การค้าขายต่างประเทศ เนื่องจากอยุธยาไม่ห่างไกลทะเลมากนัก มีแม่น้ำหลายสายผ่าน โดยเฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแม่น้ำใหญ่ เมื่อถึงหน้าแล้งก็ไม่ตื้นเขิน สามารถใช้เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าได้ตลอดปี ทำให้อยุธยาเป็นเมืองท่าสำคัญสามารถติดต่อค้าขายทางทะเลกับต่างประเทศได้สะดวกทำให้อยุธยามีธุรกิจการค้ารุ่งเรือง เป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สมัยอยุธยาตอนต้น (พ.ศ. 1893 – พ.ศ. 2034) ไทยมีการค้าขายกับจีน ญี่ปุ่น อาหรับ มลายู อินเดีย ชวา ฟิลิปปินส์
การค้ากับต่างประเทศในสมัยแรกมีลักษณะค่อนข้างจะเสรี คือ พ่อค้าต่างชาติติดต่อค้าขายกราษฎรและพ่อค้าอื่น ๆ ในอยุธยาโดยตรง ไม่ต้องผ่านองค์กรของรัฐ และเอกชนไทยที่มีทุนรอน ก็สมารถค้าสำเภาได้
ครั้นถึงรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ทรงปฏิรูปการปกครองอาณาจักร สามารถควบคุมหัวเมืองต่าง ๆ ได้รัดกุม เก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่รั่วไหล ล่าช้า สินค้าจากหัวเมือง เป็นสิ่งที่พ่อค้าต่างชาติต้องการจึงส่งเป็นสินค้าออก การค้าขายต่างประเทศขยายตัวออกไปกว้างขวางกว่าสมัยก่อนจนมีพ่อค้าชาวตะวันตกเข้ามาค้าขาย คือ โปรตุเกส เข้ามาในปี พ.ศ. 2054 เป็นชาติแรก หลังจากนั้นก็มีชาติตะวันตกอื่น ๆ เข้ามาอีก ได้แก่ สเปน (พ.ศ. 2141) ฮอลันดา (พ.ศ. 2147) อังกฤษ (พ.ศ. 2155) และฝรั่งเศส (พ.ศ. 2216) ประเทศตะวันตกเหล่านี้ได้เข้ามาตั้งสถานีการค้าที่กรุงศรีอยุธยาและเมืองท่าต่าง ๆ ของอยุธยา การค้าขายกับต่างประเทศจึงมีความเจริญก้าวหน้ามาตาลำดับ จนถึงรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ มีการตั้งพระคลังสินค้าเป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการค้ากับต่างประเทศในลักษณะผูกขาด และต่อมาสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองมีการผูกขาดมากขึ้น การค้าขายแบบเสรีในระยะเริ่มต้นจึงค่อย ๆ เสื่อมไป ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ พระคลังสินค้าคงจะใช้อำนาจผูกขาดสมบูรณ์ ทำให้พ่อค้าฮอลันดาไม่พอใจ จึงบีบบังคับไทยด้วยวิธีต่าง ๆ แต่สมเด็จพระนารายณ์ทรงใช้วิธีให้ชาติตะวันตกชาติอื่น ๆ เข้ามาค้าขายเป็นการคานอำนาจฮอลันดาได้สำเร็จ ทำให้การค้าขายสมัยสมเด็จพระนารายณ์ มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่ง หลังจากนั้นจึงเริ่มเสื่อมลงด้วยเหตุผลทางการเมืองและเรื่องอื่น ๆ สินค้าที่มีการค้าขายกัน การค้าขายระหว่างกรุงศรีอยุธยากับประเทศต่าง ๆ ที่สำคัญมีดังนี้
สินค้าออก มีผลผลิตทางเกษตรโดยตรง และแปรรูป ได้แก่ ข้าว หมาก พลู ฝ้าย มะพร้าว กระวาน กานพลู พริกไทย น้ำตาล ผลิตผลที่ได้จากป่า ได้แก่ อำพัน ไม้กฤษณา ไม้แกดำ ไม้ฝาง งาช้าง นอระมาด หรดา สัตว์ ได้แก่ ช้าง ม้า นกยูง นกแก้วห้าสี สินแร่ ได้แก่ ทองคำ เงิน พลอยต่าง ๆ เครื่องหัตถกรรม ได้แก่ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องเคลือบ และอื่น ๆ
สินค้าเข้า มีเครื่องใช้ต่าง ๆ ได้แก่ ผ้า มีแพรม้วน แพรดอก แพรโล่ ผ้าม้วน ผ้าลายทอง เครื่องถ้วยชาม เครื่องกระเบื้อง จากญี่ปุ่น พัด ดาบ หอก เกราะ กำมะถัน ทองแดง สารส้ม และเครื่องรัก เป็นต้น
ความเจริญด้านการค้าเริ่มรุ่งเรืองและเสื่อมลงเมื่อหลังเสียกรุงให้พม่า ใน พ.ศ. 2112 หลังจากการตกต่ำ รัฐบาลก็ได้พยายามฟื้นฟูด้านการค้ากับชาติตะวันตก การค้ากับต่างประเทศเริ่มรุ่งเรืองสุดสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ศ. 2148-2153)
4. รายได้ของอาณาจักรอยุธยา แหล่งที่มาของรายได้ อาจแบ่งเป็น 5 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ รายได้จากค่าทดแทนการเกณฑ์แรงงาน รายได้จากภาษีอากร รายได้จากพระคลังสินค้า รายได้จากค่าฤชาธรรมเนียม และรายได้เบ็ดเตล็ดอื่น ๆ
4.1 รายได้จากค่าทดแทนการเกณฑ์แรงงาน เป็นประเพณีที่ยึดถือกันมาว่า พระมหากษัตริย์ทรงเจ้าของที่ดินทั้งหมดในราชณาจักรแต่ยกให้ราษฎรทำกิน และพระมหากษัตริย์เป็นผู้ปกป้องคุ้มครองดูแลราษฎรให้ทำกินเป็นสุขปราศจากโจรผู้ร้ายและข้าศึก ราษฎรทั้งหลายจึงต้องตอบแทนด้วยการอุทิศแรงงานทำงานให้หลวงปีละ 6 เดือน ราษฎรที่ถูกเกณฑ์ไปทำงานตามกำหนด เรียกว่า เข้าเวร ผู้เข้าเวรไม่ต้องส่งเงินหรือสิ่งของที่หลวงต้องการมาให้ทดแทน เรียกว่า ส่งส่วย อาณาจักรจึงมีรายได้จากส่วยในรูปเงินและสิ่งของ ลาลูแบร์ บันทึกว่าในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ ไพร่ ต้องจ่ายเงินหลวง เดือนละ 2 บาท ส่วยที่ส่งเป็นสิ่งของหายาก เช่น มูลค้างคาว ดีบุก งาช้าง เป็นต้น
4.2 รายได้จากภาษีอากร มีดังนี้
4.2.1 ภาษีสินค้าเข้า – สินค้าออก เก็บจากสินค้าทุกชนิดที่นำเข้ามาในอาณาจักร หรือนำออกนอกอาณาจักร โดยเรียกเก็บตามอัตราส่วนของจำนวนสินค้า หรือตามวิธีที่กำหนด รวมทั้งภาษีที่เรียกว่า จังกอบ เช่นภาษีปากเรือ (เรียกเก็บตามความกว้างของเรือ )
4.2.2 อากรประกอบอาชีพ เก็บจากราษฎรที่ประกอบอาชีพต่าง ๆ เช่น อากรนา เรียกเก็บตามจำนวนเนื้อที่นา อากรสวน เรียกเก็บตามชนิดของไม้ผลยืนต้น อากรประมง เรียกเก็บตามชนิดของเครื่องมือจับปลา อากรตลาด เรียกเก็บจากร้านค้า หรือนำสินค้ามาขายในที่ชุมชน นอกจากนี้ยังมี อากรสุรา และอากรบ่อนเบี้ย เป็นต้น
4.2.3 อากรขนอน หรือภาษีผ่านด่าน (ขนอน หมายถึงด่านที่ตั้งเก็บภาษี ) เก็บจากผู้นำสินค้าผ่านด่าน (ทางบกหรือทางน้าก็ตาม ) โดยเรียกเก็บตามวิธีต่าง ๆ เช่น วิธีที่เรียกว่า สิบหยิบหนึ่ง ( คือร้อยละ 10) หรือถ้าเป็นการขนส่งทางเรือ ก็เสียภาษีที่เรียกว่า จังกอบเรือ เป็นต้น
4.3 รายได้จากพระคลังสินค้า
ในกรุงศรีอยุธยาเมื่อเริ่มแรกเป็นการค้าแบบเสรี ต่อมาเมื่อชาติตะวันตกเข้ามาติดต่อค้าขายมากขึ้น จึงจัดตั้งกรมพระคลังสินค้าขึ้น เพื่อควบคุมสินค้าเข้าสินค้าออก พระคลังสินค้าหรือโกษาธิบดี แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ไปตรวจเก็บภาษีสินค้าที่มาจากต่างประเทศ และคัดเอาสินค้าที่หลวงต้องการไว้ก่อน เช่น สินค้าประเภทอาวุธ หรือกระสุนดินดำ เพื่อป้องกันมิให้ตกไปอยู่ในเมืองศัตรู หรือของราษฎรสามัญได้ เป็นการรักษาความมั่นคงภายใน นอกจากนั้นยังมีหน้าที่ตรวจสินค้าขาออกและกำหนดต้องห้าม ซึ่งมักเป็นสินค้าหายาก มีราคาแพง เป็นที่ต้องการของต่างประเทศ เช่น ดีบุก ตะกั่ว และงาช้าง เป็นต้น สินค้าต้องห้ามเหล่านี้ ห้ามมิให้ราษฎรจำหน่ายแก่ชาวต่างชาติโดยตรง ต้องนำมาขายให้พระคลังสินค้า แล้วพระคลังสินค้าจึงนำไปจำหน่ายแก่พ่อค้าต่างประเทศอีกต่อหนึ่ง รายได้ของพระคลังสินค้าจากการผูกขาดการค้าเช่นนี้มีมาก
นอกจากพระคลังสินค้าจะมีรายได้ดังกล่าวแล้วในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ยังมีรายได้จากการแต่งสำเภานำสินค้าไปขายต่างประเทศอีกด้วย สินค้าที่นำไปขายนอกจากพวกสินค้าต้องห้ามแล้วมักเป็นสินค้าที่ได้มาจากส่วยและอากรที่ได้จากการทดแทนการเกณฑ์แรงงาน เช่น พริกไทย ไม้ซุง ครั่ง ขี้ผึ้ง ไม้หอม และเกลือ เป็นต้น โดยปกติจะส่งสำเภาไปค้าขายกับจีน อินเดีย และชวา ขากลับก็บรรทุกสินค้าของประเทศเหล่านั้นกลับมาจำหน่ายแก่ราษฎร ทำเงินกำไรข้าหลวงเป็นอันมา
4.4 รายได้จากค่าธรรมเนียม
การปกครองดูแลและรับรองสิทธิต่าง ๆ ราษฎรที่เกี่ยวข้องโดยตรงจะต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดไว้ เช่น ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการประทับตราแสดงกรรมสิทธิ์เหนือที่ดิน หรือเสียค่าฤชาเมื่อฟ้องร้องเป็นคดีขึ้นสู่ศาล (ผู้แพ้คดีจะต้องเสียเงินให้แก่ผู้ชนะและหลวงจะหักค่าฤชาไว้เป็นรายได้ของแผ่นดิน รวมทั้งค้าปรับ)
4.5 รายได้อื่น ๆ นอกจากอาณาจักรจะมีรายได้ต่าง ๆ ตามที่กล่าวมาแล้ว ยังมีรายได้เบ็ดเตล็ดอื่น ๆ อีกเช่น รายได้จากเครื่องราชบรรณาการของเจ้าประเทศราช หรือจากของขวัญของกำนัลที่เจ้าเมือง ขุนนางหรือพ่อค้านำขึ้นถวาย หรือทรัพย์สิน เงินทองที่ไดจากการยกทัพไปตีบ้านตีเมืองในต่างแดน เป็นต้น

เศรษฐกิจสมัยอยุธยา
อยุธยามีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่มาแต่แรกก่อตั้งอาณาจักร คือ มีทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์เอื้ออำนวยต่อการเกษตรและการค้าต่างประเทศดีกว่าอาณาจักรสุโขทัยและอาณาจักรอื่น ๆ ที่เป็นของไทยด้วยกัน นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากแคว้นละโว้ (ลพบุรี) และแคว้นสุพรรณบุรี ที่สำคัญ คือ กำลังที่โยกย้ายมาจากแคว้นทั้งสอง เป็นผู้มีความสามารถและมีประสบการณ์ จึงมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจให้แก่อยุธยาได้เป็นอย่างดีการพัฒนาทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยามีด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. การเกษตร การเกษตรเป็นเศรษฐกิจหลักของอยุธยา อยุธยามีทำเลที่ตั้งบนที่ราบอันมีดินที่อุดมสมบูรณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
2. อุตสาหกรรม สมัยอยุธยาอุตสาหกรรม มีการผลิตที่ไม่ต่างจากสุโขทัยมากนัก ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน
3. การค้า เนื่องจากทำเลที่ตั้งของอยุธยาสะดวกแก่การคมนาคมทางน้า เพราะมีแม่น้ำหลายสาย และไม่ห่างจากปากแม่น้ำเกินไป การนำสินค้าเข้าและออกทางทะเลทำได้สะดวก

4. รายได้ของอาณาจักรอยุธยา แหล่งที่มาของรายได้ อาจแบ่งเป็น 5 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ รายได้จากค่าทดแทนการเกณฑ์แรงงาน รายได้จากภาษีอากร

อาณาจักรอยุธยา
พระเจ้าอู่ทองได้ทรงสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่หนองโสน (บึงพระราม) โดยก่อนหน้าที่พระเจ้าอู่ทองจะมาสร้างเมืองใหม่นี้ พระองค์ได้ประทับอยู่ที่เมืองอโยธยา มีหลักฐานบางชิ้นปรากฏว่า ที่พระองค์ต้องทรงย้ายมาจากเมืองอโยธยานั้น อาจเป็นเพราะในเมืองเกิดอหิวาตกโรคระบาด จึงพาไพร่พลอพยพข้ามฝั่งแม่น้ำเพื่อหนีจากโรคระบาด แล้วมาสร้างกรุงศรีอยุธยา แต่มีอีกความเห็นหนึ่งว่า พระเจ้าอู่ทองอาจจะทรงอพยพผู้คนมาจากเมืองในแถบสุพรรณบุรี เนื่องจากพระองค์เป็นราชบุตรเขยของเจ้าเมืองนั้น แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าพระองค์สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ใด หรือมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ใด

ลักษณะการเมืองการปกครอง
พระมหากษัตริย์จะมีอำนาจสิทธิ์ขาดภายในราชอาณาจักรทั้งหมด ทรงเป็นทั้งเจ้าแผ่นดินและเจ้าชีวิต สามารถชี้เป็นชี้ตายให้กับใครอย่างไรก็ได้ เรียกว่าเป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไทยได้รับเอาแนวคิดที่ให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็น เทวราชา ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์มาจากเขมรตั้งแต่ช่วงปลายของอาณาจักรสุโขทัยจนมาถึงในสมัยอยุธยา โดยถือว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระนารายณ์ที่อวตารลงมาเกิดยังโลกมนุษย์ เป็นสมมติเทพ จึงต้องมีการถวายพระเกียรติอย่างสูงสุด และมีสถานะความเป็นอยู่จะเหนือกว่าคนทั้งปวง เช่น
เมื่อจะพูดกับพระมหากษัตริย์ต้องใช้คำราชาศัพท์เสมอ รวมถึงขณะที่เข้าเฝ้านั้นต้องหมอบคลานเข้าไปเพื่อแสดงความอ่อนน้อม ห้ามชำเลืองมองไปยังพระพักตร์ของพระมหากษัตริย์อย่างเด็ดขาด และเมื่อเสด็จออกนอกพระราชวัง ประชาชนจะต้องหมอบกราบและก้มหน้าเท่านั้น
ในหนังสือ Historie du Royaume de Siam กล่าวไว้ว่า นอกจากจะต้องทำความเคารพต่อพระมหากษัตริย์รวมถึงพระบรมวงศานุวงศ์แล้ว ยังมีการปฏิบัติเช่นนี้กับสัตว์ที่ใช้ในการรับใช้ของพระองค์ด้วย เช่น ช้าง ซึ่งเป็นพาหนะที่ใช้สำหรับเมื่อเสด็จออกนอกพระราชวังหรือไปราชการสงครามต่างๆ
บรรดาปราสาทราชวังที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้เพื่อประทับ จะต้องมีการประดับประดาอย่างงดงามวิจิตรพิสดารให้สมพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นเทพนอกจากที่พระมหากษัตริย์จะทรงเป็นสมมติเทพแล้ว ยังมีความเป็น ธรรมราชาตามความเชื่อของพระพุทธศาสนาพระมหากษัตริย์จะต้องทรงประพฤติปฏิบัติพระองค์ตามหลักทศพิธราชธรรม และจักรวรรดิวัตร เพื่อให้บ้านเมืองและอาณาประชาราษฎร์สามารถดำรงอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข

ศิลปวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยา
การสถาปนาอาณาจักรอยุธยาใน พ.ศ.๑๘๙๓ นับเป็นการเริ่มต้นศิลปวัฒนธรรมไทยในสมัยอยุธยาซึ่งมีรากฐานมาจากสถาบันพระมหากษัตริย์และสถาบันศาสนา ไม่ว่าจะเป็นทางด้านศิลปกรรม วรรณกรรมประเพณี รวมทั้งพระพุทธศาสนา ซึ่งคนไทยศรัทธาและยึดมั่นเป็นสรณะมาโดยตลอดศิลปวัฒนธรรมไทยในสมัยอยุธยาเกิดจากการผสมผสานระหว่างศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนไทย และ ศิลปวัฒนธรรมที่รับมาจากภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปวัฒธรรมจากอินเดียที่อยุธยารับมาจากเขมรและจากอินเดียโดยตรง
นอกจากนี้ อยุธยายังรับศิลปวัฒนธรรมไทยจากสุโขทัยเข้ามาผสมเข้ากับวัฒนธรรมของอยุธยา จนกลายเป็นศิลปวัฒนธรรมของอยุธยาในที่สุด และในระยะต่อมาได้กลายเป็นรากฐานของศิลปวัฒนธรรมไทยในสมัยต่างๆจนถึงปัจจุบัน อยุธยาได้รับวัฒนธรรมจากสุโขทัยมาผสมผสานเข้าด้วยกันจนกลายเป็นศิลปวัฒนธรรมของอยุธยา ซึ่งมีทั้งทางด้านศิลปกรรม อันประกอบด้วย สถาปัตยกรรม ประติมากรรมจิตรกรรม ประณีตศิลป์ และ ศิลปการแสดง นอกจากนี้มีด้านวรรณกรรม ด้านประเพณี และ ด้านพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมสมัยอยุธยาทั้งในตอนต้นและตอนปลาย ล้วนแต่เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์และสถาบันพระพุทธศาสนาแทบทั้งสิ้น หรือที่กล่าวอย่าสั้นๆคือ จาก “วัง” กับ “วัด”ศิลปกรรมต่างๆ จะมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งวังและวัดเป็นส่วนใหญ่ ศิลปะการแสดงมาจากวังเป็นส่วนใหญ่และส่วนหนึ่งเป็นของชาวบ้าน วรรณกรรมส่วนใหญ่ได้สะท้อนเรื่องราวในราชสํ านัก และสะท้อนให้เห็นถึงหลักคํ าสอนของพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้ได้รับการสืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมาจนถึงสมัยรัชรัตนโกสิน

ประณีตศิลป์
ศิลปวัฒนธรรมสมัยอยุธยา

ลักษณะของศิลปวัฒนธรรมในสมัยอยุธยา แบ่งได้หลายประเภท โดยสรุปลักษณะที่สำคัญแต่ละประเภท ดังนี้
1. ศิลปกรรมสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม ประณีตศิลป์
2. วรรณกรรม
3. ประเพณี
4. พระพุทธศาสนา
ประณีตศิลป์
งานประณีตศิลป์สมัยอยุธยาถือได้ว่ามีความเจริญถึงขีดสุดเหนือกว่าศิลปะแบบอื่นๆ งานประณีตศิลป์ที่เกิดขึ้นมีหลายประเภท เช่น
- เครื่องไม้จำหลัก
ได้แก่ ตู้พระธรรม ธรรมาสน์ พระพุทธรูป บานประตู หน้าต่าง หน้าบันพระอุโบสถ ตู้เก็บหนังสือ
- ลายรดน้ำ คือการนำทองมาปิดลงบนรักสีดำบนพื้นที่เขียนภาพหรือลวดลายแล้วรดน้ำล้างออก นิยมใช้ในบานประตูโบสถ์วิหาร ตู้พระธรรม ตู้ใส่หนังสือ เป็นต้น
- การประดับมุก
ได้มาจากจีน แต่ได้ปรับให้เป็นลวดลายอย่างไทย พบในบานประตูที่วิหารพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก เป็นต้น
- เครื่องเบญจรงค์ เป็นการออกแบบลวดลายบนเครื่องเคลือบถ้วยชามด้วยสี 5 สี คือ สีแดง สีเขียว สีเหลือง สีขาว สีดำ และสีน้ำเงิน ลวดลายที่ใช้มักเป็นลายก้นขด หรือลายก้านแย่ง หรือใช้รูปตกแต่ง เช่น เทพนมสิงห์ ลายกนก กินรี กินนร นรสิงห์ เป็นต้น
- เครื่องทองประดับ
มีทั้งเครื่องทองรูปพรรณ เครื่องราชูปโภคของพระมหากษัตริย์ เครื่องทองประดับอัญมณี ทองกร เป็นต้น
- ลายปูนปั้น คือลวดลายที่ปั้นด้วยปูนเพื่อประดับตกแต่งตามส่วนต่างๆ ของหน้าบันประตู เจดีย์ และปรางค์ ได้รับอิทธิพลทั้งจากขอมและตะวันตก เช่น ที่วัดมหาธาตุ วัดราษฎร์บูรณะ วัดตะเว็ต วัดพระราม วัดภูเขาทอง เป็นต้น

ลักษณะสังคมสมัยอยุธยา
- - - ชนชั้นทางสังคม - - -

สามารถแบ่งตามยุคของแต่ละสมัยได้ดังนี้
สังคมในสมัยอยุธยาประกอบด้วย พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง ข้าราชการ ไพร่ ทาส และพระสงฆ์ โดยมีอำนาจและหน้าที่ที่แตกต่างกันไป แบ่งได้เป็น 2 ชนชั้นใหญ่ๆ คือ

1. ชนชั้นปกครอง
2. ชนชั้นใต้การปกครอง

- - -การศึกษา - - -

สามารถแบ่งได้ดังนี้
ในสมัยอยุธยา การศึกษาถูกจำกัดอยู่ในวงจำกัด ไม่ได้มีมากเหมือนในปัจจุบัน เป็นการศึกษาแบบไม่บังคับผู้สอนมักสงวนวิชาไว้แค่ในวงศ์ตระกูลของตนหรือ
คนเพียงวงแคบ ส่วนใหญ่จะจัดกันในสถานที่เหล่านี้ ได้แก่
1) วัด จะให้การศึกษากับบุตรหลานในเรื่องจริยธรรม พฤติกรรม หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ขนบธรรมเนียม การอ่านและเขียนภาษาไทย การคำนวณ รวมไปถึงวิชาการพื้นฐานอื่นๆ เช่น วิชาเวทมนตร์คาถาอยู่ยงคงกระพัน หรือวิชาช่าง ทั้งช่างฝีมือและศิลปกรรมผู้ที่เรียนต้องบวชเรียนเป็นภิกษุหรือสามเณรเสียก่อน ส่วนใหญ่ผู้ที่เรียนจะเป็นบุตรหลานในครอบครัวของคนสามัญชน
2) บ้าน ส่วนใหญ่จะให้การศึกษาในวิชาชีพที่ครอบครัวมีอยู่ สำหรับเด็กชายจะเป็นงานที่เป็นอาชีพในบ้านอยู่แล้ว เช่น งานตีเหล็ก งานปั้น งานแกะสลัก งานช่าง หรือการรับราชการ เพื่อจะได้สืบทอดงานต่อไป ส่วนเด็กผู้หญิงก็จะเป็นงานบ้านงานเรือน เช่น การทำอาหาร เย็บปักถักร้อย เพื่อเป็นแม่บ้านต่อไป
3) วัง เป็นสถานศึกษาสำหรับคนชั้นสูง ผู้ที่เรียนมักเป็นเชื้อพระวงศ์ เจ้านายในพระราชวังเท่านั้น จะให้การศึกษาในเรื่องการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และศิลปวัฒนธรรม เพื่อไปใช้ในการปกครองในเวลาต่อไป ผู้สอนก็เป็นปราชญ์ทั้งหลายที่ประจำอยู่ในพระราชวัง ซึ่งมีความรู้อย่างมาก วังนับเป็นสถานศึกษาที่สำคัญที่สุด เพราะมีนักปราชญ์ราชบัณฑิตอยู่มากมาย
หลังจากที่มีชาวตะวันตกเข้ามาติดต่อกับไทย ก็ได้นำหมอสอนศาสนาหรือมิชชันนารีมาด้วย นอกจากจะเผยแผ่ศาสนาคริสต์ของชาวตะวันตกนั้นแล้ว ก็ได้ให้การศึกษากับชาวไทย โดยจัดตั้งโรงเรียนเพื่อให้วิชาการ วิทยาการต่างๆ แก่เด็กไทยได้มีความรู้ทัดเทียมกัน หรือบางครั้งก็มีการส่งนักเรียนไทยไปเรียนยังต่างประเทศ เพื่อนำความรู้กลับมาพัฒนาบ้านเมืองต่อไป


ลักษณะสังคมสมัยอยุธยา
- - - กระบวนการยุติธรรม

สามารถแบ่งได้ดังนี้
กฎหมายในสมัยอยุธยาที่ตราขึ้นมานั้นมีลักษณะเหมือนในปัจจุบัน เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่เป็นหลักฐานชัดเจนตราขึ้นมาเพื่อใช้บังคับคน
ในสังคมทุกคนให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบเรียบร้อย

กฎหมายที่ตราขึ้นอาจแยกเป็นดังนี้
- คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ เป็นกฎหมายแม่บทที่ใช้เป็นหลักสำหรับใช้พิจารณาคดีความ และตรากฎหมายย่อยขึ้นมารองรับ ไทยได้นำแบบอย่างมาจากกฎหมายของมอญ ซึ่งมอญก็นำมาจากอินเดียมา
- พระราชศาสตร์ เป็นกฎหมายย่อยที่ตราขึ้นมาใช้ โดยตราเป็นพระราชกำหนด พระราชบัญญัติ หรือบทพระอัยการ โดยอาศัยคัมภีร์พระราชศาสตร์เป็นหลัก และคำนึงถึงความเหมาะสมของเหตุการณ์บ้านเมืองในขณะนั้น
กฎหมายสำคัญๆ ที่มีการตราขึ้นใช้ เช่นกฎหมายลักษณะพยาน | กฎหมายลักษณะอาญา | กฎหมายลักษณะรับฟ้อง | กฎหมายลักษณะโจร | กฎหมายลักษณะลักพา | กฎหมายลักษณะผัวเมีย กฎหมายพิสูจน์การดำน้ำลุยเพลิง | กฎหมายลักษณะมรดก เป็นต้น

ศาล
หลังจากที่มีกฏหมายมาบังคับใช้แล้วหากผู้ไม่ปฏิบัติตามก็จะต้องถูกลงโทษ
ตามความผิดที่กระทำลงไป และมีศาลเป็นสถานที่ตัดสินคดีความต่างๆ ให้ลุล่วงไป ศาลถูกจัดให้สอดคล้องกับการปกครองแบบจตุสดมภ์ ทำให้มี 4 ศาล คือ ศาลกรมวัง ศาลกรมเมือง ศาลกรมนา และศาลกรมคลัง ซึ่งจะพิจารณาคดีเฉพาะที่เกี่ยวกับหน้าที่การทำงานของแต่ละกรมเท่านั้น
หลังจากที่มีการฟ้องร้องเกิดขึ้นแล้ว ลูกขุน ณ ศาลหลวง จะเป็นผู้ตัดสินว่าคดีดังกล่าวสมควรจะรับฟ้องหรือไม่ ถ้ารับฟ้องก็จะส่งเรื่องไปให้ศาลกรมที่เกี่ยวข้องกับคดีนั้น ในการพิจารณาคดี มีการแบ่งให้บุคคล 2 คณะ คือ ตุลาการ จะเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนจำเลยและโจทก์ ถ้าพยานหรือหลักฐานไม่เพียงพอก็เรียกพยานหรือหลักฐานเพิ่มเติมได้ ซึ่งบางครั้งถ้าจำเลยหาหลักฐานมาแก้ต่างให้กับตนไม่ได้แต่ไม่ยอมรับสารภาพ ก็จะมีการพิสูจน์โดยการดำน้ำลุยไฟ ถ้าผ่านไปได้ก็จะถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ทันที เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วก็จะเสนอยังคณะลูกขุนให้ทำการตัดสินว่าฝ่ายใดเป็นผู้แพ้หรือชนะคดี พร้อมด้วยเหตุผลประกอบ ซึ่งหากไม่พอใจในการตัดสินก็สามารถอุทธรณ์ต่อไปได้

แบ่งออกเป็น 5 ราชวงศ์ดังต่อไปนี้
1.- - ราชวงศ์อู่ทอง - -
2.- - ราชวงศ์สุพรรณภูมิ - -
3.- - ราชวงศ์สุโขทัย - -
4.- - ราชวงศ์ปราสาททอง - -
5.- - ราชวงศ์บ้านพลูหลวง - -

- - ราชวงศ์อู่ทอง - -ครองราชย์ได้ 59 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครอง 3 พระองค์
1.สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) พ.ศ. 1893 - 1912
2.สมเด็จพระราเมศวร (ครั้งที่ 1) พ.ศ. 1912 - 1913
(ครั้งที่ 2) พ.ศ. 1931 - 1938
3.สมเด็จพระรามราชาธิราช พ.ศ. 1938 - 1952

- - ราชวงศ์สุพรรณภูมิ - -
ครองราชย์ได้ 199 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครอง 14 พระองค์ (13 พระองค์ ถ้าไม่นับขุนวรวงศาธิราช)
1.สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) พ.ศ. 1913 - 1931
2.สมเด็จพระเจ้าทองจันทร์ (ทองลัน) พ.ศ. 1931 (7 วัน)
3.สมเด็จพระนครินทราธิราช พ.ศ. 1952 - 1967
4.สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) พ.ศ. 1967 - 1991
5.สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พ.ศ. 1991 - 2031
6.สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 พ.ศ. 2031 - 2034
7.สมเด็จพระบรมรามาธิบดีที่ 2 พ.ศ. 2034 - 2072
8.สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 พ.ศ. 2072 - 2076
9.สมเด็จพระรัษฎาธิราช พ.ศ. 2076 - 2077
10.สมเด็จพระไชยราชาธิราช พ.ศ. 2077 - 2089
11.สมเด็จพระยอดฟ้า (พระแก้วฟ้า) พ.ศ. 2089 - 2091
12.*ขุนวรวงศาธิราช พ.ศ. 2091 (42 วัน)
13.สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พ.ศ. 2091 - 2111
14.สมเด็จพระมหินทราธิราช พ.ศ. 2111 - 2112

* ในหนังสือบางเล่ม ไม่นับขุนวรวงศาธิราชเป็นกษัตริย์ เพราะได้อำนาจท่ามกลางความไม่พอใจของเหล่าขุนนางและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่

- - ราชวงศ์สุพรรณภูมิ - -
ครองราชย์ได้ 199 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครอง 14 พระองค์ (13 พระองค์ ถ้าไม่นับขุนวรวงศาธิราช)
1.สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) พ.ศ. 1913 - 1931
2.สมเด็จพระเจ้าทองจันทร์ (ทองลัน) พ.ศ. 1931 (7 วัน)
3.สมเด็จพระนครินทราธิราช พ.ศ. 1952 - 1967
4.สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) พ.ศ. 1967 - 1991
5.สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พ.ศ. 1991 - 2031
6.สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 พ.ศ. 2031 - 2034
7.สมเด็จพระบรมรามาธิบดีที่ 2 พ.ศ. 2034 - 2072
8.สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 พ.ศ. 2072 - 2076
9.สมเด็จพระรัษฎาธิราช พ.ศ. 2076 - 2077
10.สมเด็จพระไชยราชาธิราช พ.ศ. 2077 - 2089
11.สมเด็จพระยอดฟ้า (พระแก้วฟ้า) พ.ศ. 2089 - 2091
12.*ขุนวรวงศาธิราช พ.ศ. 2091 (42 วัน)
13.สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พ.ศ. 2091 - 2111
14.สมเด็จพระมหินทราธิราช พ.ศ. 2111 - 2112

* ในหนังสือบางเล่ม ไม่นับขุนวรวงศาธิราชเป็นกษัตริย์ เพราะได้อำนาจท่ามกลางความไม่พอใจของเหล่าขุนนางและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่

- - ราชวงศ์ปราสาททอง - -
ครองราชย์ได้ 59 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครอง 4 พระองค์
1.สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พระสรรเพชญ์ที่ 5) พ.ศ. 2172 -2199
2.สมเด็จเจ้าฟ้าไชย (พระสรรเพชญ์ที่ 6) พ.ศ. 2199 (3 - 5 เดือน)
3.สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา (พระสรรเพชญ์ที่ 7) พ.ศ. 2199 (2 เดือน)
4.สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. 2199 - 2231

- ราชวงศ์บ้านพลูหลวง - -
ครองราชย์ได้ 79 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครอง 6 พระองค์
1.สมเด็จพระเพทราชา พ.ศ. 2231 - 2246
2.สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) พ.ศ. 2246 - 2251
3.สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) พ.ศ. 2251 - 2275
4.สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พ.ศ. 2275 - 2301
5.สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร พ.ศ. 2301 (2 เดือน)
6.สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) พ.ศ. 2301 - 2310

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น