วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กฏหมายแพ่งและกฏหมายอาญา


ความแตกต่างระหว่างกฏหมายแพ่งและกฏหมายอาญา



ความผิดทางอาญาเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดผลเสียหายหรือเกิดความหวาดหวั่นคร้ามแก่บุคคลทั่วไป ความผิดทางอาญาส่วนใหญ่จึงถือว่าเป็นความผิดต่อแผ่นดินหรือประชาชนทั่วไปส่วนความผิดทางแพ่งเป็นเรื่องระหว่างเอกชนต่อเอกชนด้วยกัน ไม่มีผลเสียหายต่อสังคมแต่อย่างใด กฎหมายอาญานั้นมีวัตถุประสงค์ที่จะลงโทษผู้กระทำความผิด ฉะนั้น หากผู้ทำผิดตายลง การสืบสวนสอบสวน การฟ้องร้อง หรือการลงโทษก็เป็นอันระงับลงไปส่วนความผิดทางแพ่งเป็นเรื่องการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคล ดังนั้น เมื่อผู้กระทำผิดหรือผู้ละเมิดตายลง ผู้เสียหายย่อมฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่าง ๆ จากกองมรดกของผู้กระทำผิดหรือผู้ละเมิดได้ เว้นแต่จะเป็นหนี้เฉพาะตัวเช่น แดงจ้างดำวาดรูป ต่อมาดำตายลง ถือว่าหนี้ระงับลงความรับผิดทางอาญาถือเจตนาเป็นใหญ่ในการกำหนดโทษ เนื่องจากการกระทำผิดดังที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 บัญญัติว่า “บุคคลจะต้องรับผิดทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา...”ส่วนความรับผิดทางแพ่งนั้น ไม่ว่ากระทำโดยเจตนาหรือประมาทผู้กระทำก็ต้องรับผิดทั้งนั้นกฎหมายอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด ถ้าไม่มีกฎหมายย่อมไม่มีความผิดและไม่มีโทษ เพราะกฎหมายอาญามีโทษรุนแรงแต่กฎหมายแพ่ง หลักเรื่องตีความโดยเคร่งครัดไม่มี กฎหมายแพ่งต้องตีความตามตัวอักษรหรือตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น ๆ ดังนั้น การที่จะเป้นความผิดทางแพ่งนั้น ศาลอาจตีความขยายได้ความรับผิดทางอาญานั้น โทษที่จะลงแก่ตัวผู้กระทำผิดถึงโทษประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สินส่วนทางกฎหมายแพ่งนั้นไม่มีโทษ เป็นเพียงถูกบังคับให้ชำระหนี้หรือชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความผิดทางอาญาส่วนใหญ่ไม่อาจยอมความได้ เว้นแต่ความผิดต่อส่วนตัวหรือที่กฎหมายอาญาบัญญัติไว้ ความผิดอันยอมความได้เช่น ความผิดฐานหมิ่นประมาท ความผิดฐานยักยอก เป็นต้น เหตุผลก็คือ ความผิดทางอาญาถือว่าทำความเสียหายให้แก่มหาชน ทำลายความสงบสุขของบ้านเมือง ผู้เสียหายจึงไม่อาจยกเว้นความรับผิดให้ได้ส่วนความผิดทางแพ่ง ผู้เสียหายอาจยกเว้นความรับผิดให้ได้โดยไม่นำคดีขึ้นฟ้องร้องต่อศาล หรือเรียกร้องหนี้สินแต่อย่างใดเลยความผิดในทางอาญา บุคคลที่ร่วมกระทำผิดอาจมีความรับผิดมากน้อยต่างกันตามลักษณะของการเข้าร่วม เช่น ถ้าเป็นผู้ลงมือกระทำผิดก็ถือเป็นตัวการ ถ้าเพียงแต่ยุยงหรือช่วยเหลือก็อาจผิดเพียงฐานะผู้สนับสนุนส่วนความผิดทางแพ่ง ผู้ที่ร่วมกันก่อหนี้ร่วมกันทำผิดสัญญาหรือร่วมกันทำละเมิดตลอดทั้งยุยงหรือช่วยเหลือ จะต้องร่วมกับรับผิดต่อเจ้าหนี้หรือผู้ได้รับความเสียหายเหมือนกันหมดความรับผิดทางอาญา การลงโทษผู้กระทำผิดก็เพื่อที่จะบำบัดความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่ชุมชนเป็นส่วนรวม เพื่อให้ผู้กระทำผิดเกิดความหลาบจำและกลับตัวกลับใจเป็นคนดี อีกทั้งเพื่อป้องกันผู้อื่นมิให้เอาเยี่ยงอย่างส่วนความรับผิดทางแพ่ง กฎหมายมีวัตถุประสงค์ที่จะบำบัดความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เอกชนคนหนึ่งคนใดโดยเฉพาะ ซึ่งอาจได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ เสรีภาพ ชื่อเสียง ทรัพย์สิน ความเสียหายได้เกิดขึ้นอย่างใด กฎหมายก็ต้องการที่จะให้เขาได้รับการชดใช้ในความเสียหายอย่างนั้น ถ้าทำให้คืนสภาพเดิมไม่ได้ก็พยายามจะให้ใกล้เคียงมากที่สุดแต่ไม่ว่าจะแตกต่างกันอย่างไร จะผิดทางแพ่ง หรือผิดทางอาญา เชื่อว่า..ไม่มีใครอยากมีคดีความ ไม่ว่าจะแพ่งหรืออาญาก็ตาม

หลักกฏหมายที่ใช้ในการปกครองประเทศ


กฏหมายหลักที่ใช้ในการปกครองประเทศ



กฎหมายรัฐธรรมนูญ หมายถึง รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศและถือเป็นแม่บทของกฎหมายต่างๆ ถ้ากฎหมาย ใดขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญกฎหมายนั้นจะใช้บังคับไม่ได้เมื่อกล่าวถึงรัฐธรรมนูญจะเกี่ยวข้องกับเรื่องรูปแบบการปกครอง ประมุขของประเทศ อำนาจอธิปไตย และสิทธิเสรีภาพของประชาชน



รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของไทยคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้กำหนดรูปแบบให้ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยว ไม่ใช้เป็นสหพันธรัฐ สาธารณรัฐ หรือสมาพันธรัฐให้ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข อำนาจอธิปไตยอันเป็นอำนาจสูงสุดของรัฐแบ่งเป็น 3 ส่วนคืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ อำนาจอธิปไตยดังกล่าวเป็นของปวงชนชาวไทย โดยพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตย กล่าวคือ ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา อำนาจบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตี และอำนาจตุลาการผ่านทางศาล นอกจากนี้รัฐธรรมนูญยังมีบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเสมอภาคกัน


พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน


พรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534- ปัจจุบันมีผลบังคับใช้ในวันถัดไปหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา ประกาศเมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2534แก้ไขมาแล้ว 6 ฉบับ จนถึงปัจจุบันให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ให้จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินดังนี้ 1. ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง 2. ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค 3. ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นการบริหารราชการส่วนกลาง ประกอบไปด้วย สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการอื่นที่ไม่สังกัดการจัดตั้ง การรวม หรือการโอนส่วนราชการ ให้ตราเป็น พรบ. แต่ถ้าไม่การกำหนดตำแหน่งข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มให้ตราเป็น พรฎ.ให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสำนักงบประมาณ มีหน้าที่ตรวจสอบดูแลมิให้กำหนดตำแหน่งข้าราชการลูกจ้างขึ้นใหม่ จนกว่าจะครบกำหนด 3 ปี นับจากวันที่ พรฎ.มีผลบังคับใช้การยุบส่วนราชการตราเป็น พรฎ.การรับโอนข้าราชการให้กระทำได้ภายใน 30 วัน นับจาก พรฎ. บังคับใช้สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี ให้แก้ไขเป็นสำนักงานรัฐมนตรีสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง มีเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชา ให้เลขาธิการและรองเลขาธิการฝ่ายการเมือง เป็นข้าราชการการเมือง และให้รองเลขาธิการนายกฝ่ายบริหาร และผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือนเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รองเลขาฯคณะรัฐมนตรี และผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญรวมถึงปลัดสำนักนายก รองปลัดสำนักนายก และผู้ช่วยปลัดสำนักนายกเลขานุการรัฐมนตรีเป็นข้าราชการการเมืองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารของคณะรัฐมนตรีและราชการในพระองค์ก่อนคณะรัฐมนตรีจะให้ความเห็นชอบในร่าง พรฎ. จัดตั้งส่วนราชการ ให้นายกรัฐมนตรีส่งร่าง พรฎ. ต่อสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา เพื่อทราบการปฏิบัติราชการแทน ให้มีการมอบอำนาจเป็นหนังสือ การมอบอำนาจให้ผู้ว่า เป็นการยกเว้น สามารถกระทำได้ทุกกรณีแทนทุกคนเมื่อมีการมอบอำนาจแล้วผู้รับมอบอำนาจนั้นจะมอบอำนาจนั้นให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นมิได้ เว้นแต่มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายต่อนายกจะมอบหมายให้รองนายกปฏิบัติราชการแทนในส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อนายกได้การรักษาราชการแทน ให้กระทำได้เมื่อเจ้าของเรื่องไม่อยู่และไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้การบริหารราชการในต่างประเทศ คณะผู้แทน คือข้าราชการ ทหารประจำการในต่างประเทศ ณ สถานเอกอัคราชทูต กงสุล หรือส่วนราชการในต่างประเทศการสั่ง และการปฏิบัติราชการของกระทรวง ทบวง กรม ต่อบุคคลในคณะผู้แมนให้เป็นไปตามระเบียบคณะรัฐมนตรีกำหนดกรมหนึ่งมีอธิบดีคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา รับผิดชอบการปฏิบัติราชการของกรมโดยการใช้อำนาจให้คำนึงถึงนโยบายคณะรัฐมนตรีการบริหารส่วนกลาง เป็นการบริหารแบบรวมอำนาจการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ประกอบไปด้วย จังหวัด และอำเภอการตั้งยุบ เปลี่ยนแปลง เขตจังหวัดให้ตราเป็น พรบ. มีฐานะเป็นนิติบุคคลในจังหวัดหนึ่งๆ ให้มีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้รับนโยบายจากนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติให้เหมาะสมกับพื้นที่การยกเว้น จำกัด ตัดตอนอำนาจของผู้ว่าให้ตราเป็น พรบ.คณะกรรมการจังหวัด ประกอบไปด้วยผู้ว่า เป็นประธาน / รองผู้ว่า ปลัดจังหวัด ผู้บังคับบัญชาตำรวจจังหวัด อัยการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดอื่นๆ เป็นคณะกรรมการ / ให้หัวหน้าสำนักงานจังหวัด เป็นเลขานุการ และกรรมการการยุบ และการเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอให้ตราเป็น พรฎ. ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ให้มีนายอำเภอเป็นผู้บังคับบัญชาการบริหารราชการส่วนภูมิภาค เป็นการบริหารแบบแบ่งอำนาจการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย อบจ. เทศบาล อบต. และราชการอื่นที่กำหนด สุขาภิบาลได้ยกฐานะเปลี่ยนเป็นเทศบาล ปัจจุบันไม่มีสุขาภิบาลคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.) มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน รัฐมนตรี 1 คน ที่ได้รับมอบหมายเป็นรองประธาน บุคคลที่คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีก 1 คน ผู้ทรงคุณวุฒิอีก 10 คน รวมทั้งสิ้น 13 คนคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 คน ต้องทำงานเต็มเวลา ให้จ่ายเงินตาม พรฎ.เลขาธิการ กพร. เป็นกรรมการและเลขาธิการโดยตำแหน่ง เป็นข้าราชการพลเรือนกรรมการมีวาระ 4 ปี เป็นได้ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน ถ้าตำแหน่งว่างลงให้แต่งตั้งภายใน 30 วันสำนักงาน ก.พ.ร.เป็นส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี ไม่มีฐานะเป็นกรม ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการบริหารแบบกระจายอำนาจพรฎ. แบ่งส่วนราชการภายในกระทรวง ทบวง กรม ให้แก้ไขให้เสร็จภายใน 2 ปี